บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 18 กันยายน 2555 
จัดกิจกรรมให้เด็กอนุบาล โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม
มีด้วยกันทั้งหมด 9 ฐานดังนี้     
     1.ฐานขนมปังปิ่ง
     2.ฐานขนมต้ม
     3.ฐานเกี๊ยวทอด
     4.ฐานลูกโป่ง
     5.ฐานการเดินทางของเสียง
     6.ฐานระดับน้ำมีผลต่อระดับเสียง
     7.ฐานแม่เหล็กมหาสนุก
     8.ฐานลูกข่างเปลี่ยนสี
     9.ฐานแม่เหล็กมหัจรรย์

ฐานของกลุ่มดิฉันคือ ฐานลูกข่างเปลี่ยนสี
ขั้นตอนการทำ ฐานลูกข่างเปลี่ยนสี
1.เราจะนำกระดาษที่ตัดเป็นวงกลม และพร้อมเจาะรูตรงกลาง
2.เราให้เด็กๆระบายสีให้ตามที่เรากำหนดไว้
3.เด็กๆระบายสีเสร็จแล้ว เราจะเอากระดาษที่เด็กระบายสี มาใส่ไม้ตรงกลาง เพื่อเป็นที่จับเวลาจะหมุน
4.เด็กๆจะได้ลูกข่างเปลี่ยนสีกลับบ้าน

สิ่่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน 
                ตาของเราไม่สามารถสังเกตเห็นซี่ล้อรถหรือลายบนลูกข่างที่กำลังหมุนได้ เนื่องจากเปลี่ยนภาพและสีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เราจึงเห็นสีบนลูกข่างเป็นสีผสม เพราะตาของเราไม่สามารถแยกแยะสีได้ เมื่อหมุนลูกข่างสีเขียวแดงเร็ว ๆ ตาของเราจะมองเห็นเป็นสีเหลือง เป็นต้น


ผลจากการทดลอง
                บรรยากาศในสัปดาห์นี้ เด็ก ๆ ทุกระดับชั้น สนุกกับการประดิษฐ์ลูกข่างด้วยตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการจากเด็กไม่ว่าจะเป็นการลงสี ภาพวาดที่เด็ก ๆ ต่อเติมลงไป ไม่ซ้ำกัน เด็ก ๆ ได้ทดลองหมุนลูกข่างของตนเองอย่างสนุกสนาน พร้อมวิเคราะห์ หมุนช้า และเกิดอะไรขึ้น แล้วทุกคนก็ได้ของเล่นชิ้นใหม่นำกลับไปอวดคุณพ่อ คุณแม่  แถมได้ความรู้การเกิดสีผสมของแต่ละสีด้วย


ความสำคัญของสี
แม่สีมีทั้งหมด 3 สี ได้แก่ แดง , น้ำเงิน และเหลือง ที่เป็นแม่สี เพราะว่าไม่มีสีอื่นๆ มากกว่า 1 มาผสมกันจนได้ 3 สีนี้ เช่น สีม่วงไม่ใช่แม่สี เพราะได้จากการผสมสีน้ำเงินและแดงในสัดส่วนที่เท่ากัน 

การมองเห็นสีหรือวัตถุนั้นอย่างน้อยต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ
1. วัตถุ ซึ่งก็แน่นอนไม่มีวัตถุก็ไม่รู้จะเห็นอะไร
2. แสง ถึงจะมีของ แต่ไม่เปิดไฟก็คงจะมองไม่เห็น
3. ตา มีทั้งวัตถุและแสง แต่คนมองดันตาบอดซะนี่ ก็คงจะไม่เห็นเช่นกัน








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น